แมวค้นฅน นัดค้น ภาวิษา มีศรีนนท์
ดีไซเนอร์ เจ้าของสตูดิโอ PABAJA (พา – บา – จา)
ผู้ออกแบบลายผ้าและลวดลายที่สะท้อนความเป็นไทย
และความสร้างสรรค์แบบร่วมสมัย
จนเป็นที่ยอมรับในแบรนด์นานาชาติ
21 กุมภาพันธ์นี้ 3 – 4 ทุ่ม ที่ Cat Radio
ฟังและดูไลฟ์ได้ทางเว็บไซต์ www.thisiscat.com
แอปพลิเคชั่น Cat Radio และเฟสบุ๊ก thisiscatradio
ข้อมูล https://web.facebook.com/ooPABAJAoo
ภา - ภาวิษา มีศรีนนท์ Freelance Graphic / Illustrator /Textile / Craft& Fashion / Product Designer
ศิลปินสาวที่รักงานศิลปะและออกแบบงานคราฟต์ได้ร่วมสมัย มีผลงานโดดเด่น และเป็นเจ้าของ PABAJA (พา – บา – จา) สตูดิโอออกแบบงานฝีมือที่แบรนด์ไทยและต่างประเทศไว้วางใจ
เธอชอบศิลปะและการแต่งตัวตั้งแต่จำความได้
เรียนจบสาขานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นอกจากความสนใจและการเรียนแล้ว ยังได้ฝึกฝนงานหัตถกรรม (Handicraft) จากคุณย่าที่ชอบถักนิตติ้ง เย็บผ้า ปักผ้า ทำให้ภาเย็บผ้าเป็นตั้งแต่วัยประถม ต่อมาก็เย็บกระเป๋าใช้เองในสไตล์ไม่เหมือนใคร และเมื่อออกแบบงานของตนเอง ก็ผสมผสานทั้งความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม งานกราฟิก และงานคราฟต์ เป็นสไตล์ PAJABA ที่เป็นทั้งชื่อในการทำงานและสตูดิโอของเธอ
ภาเคยให้คำนิยามผลงานของตนตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยว่าเป็นแบบ “Maximum Traditional” ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า งานศิลปะ งานฝีมือ งานกราฟิก ก็ใช้เทคนิคมากกว่า 1 อย่าง และมีความร่วมสมัยทางวัฒนธรรม ทุกงานจะลงรายละเอียด พร้อมสีสัน ในสไตล์ไม่เหมือนใคร ซ่อนความหมายและลูกเล่นให้ค้นหาอยู่เสมอ
ภาวิษาเป็นหนึ่งในดีไซเนอร์ที่เข้าไปช่วยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ Otop ให้ทันสมัยและส่งไปจำหน่ายในประเทศต่างๆ โดยร่วมงานกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สถาบันพัฒนาอุตสาหรรมสิ่งทอ รวมทั้งเป็นโค้ชให้ชาวเขาและคนพื้นที่ซึ่งผลิตลวดลายแบบดั้งเดิมที่มีเสน่ห์ มาประยุกต์ให้เข้ากับวงการดีไซน์สมัยใหม่
ตัวอย่างผลงาน: โปรเจกต์ Thai Embroidery Tribal, Arkha (2015) ที่ทำให้โอทอปของชนเผ่าอาข่า โกอินเตอร์ Wat Pho Scarf (2017) ที่นำลายกระเบื้องของวัดโพธิ์มาออกแบบเป็นผ้าพันคอแบรนด์ Sasitanatscarf Mai Mais / Bangkok (2016) ที่วาดลายเส้นแบบละเอียดลงบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ สะท้อนความเป็นกรุงเทพฯ ได้ลึกซึ้งและเก๋ไก๋
Zine Book รวมเล่มผลงานการเดินทางทั่วไทย ไปพัฒนาสินค้าและงานฝีมือชุมชน เปิดตัวที่ Singapore Arts Book Fair 2018