แต่งตัวเป็นอาชีพ กับ มายน์ ชญานุช #แมวค้นฅน

แต่งตัวเป็นอาชีพ กับ มายน์ ชญานุช  #แมวค้นฅน
 
รายการ: แมวค้นฅน
ออกอากาศเมื่อ พฤหัสบดี 13 มกราคม 2565
ทาง www.thisiscat.com, app: Cat Radio   
 
มายน์ - ชญานุช เสวกวัฒนา
Stylist / Costume Designer
ภาพยนตร์ มิวสิกวิดีโอ โฆษณา
เป็นที่ชื่นชอบทั้งผู้ร่วมงานและผู้ชมจนปัจจุบัน
ภาพยนตร์ - สยามสแควร์,แสงกระสือ,ร่างทรง
ซีรีส์ - แปลรักฉันด้วยใจเธอ,Folklore SS2
มิวสิกวิดีโอ – กีดกัน (ost แปลรักฉันด้วยใจเธอ)
รวมถึงเป็นสไตลิสต์ที่ร่วมงานกับศิลปินนักแสดงนักร้องในหลากหลายงาน
เช่น บิวกิ้น - พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล พีพี-กฤษฏ์ อำนวยเดชกร
 
ข้อความบางส่วนจากการค้นมายน์:
- Stylist กับ Costume Designer ต่างกัน
- Stylist (สไตลิสต์) นำของที่มีอยู่แล้วมาพัฒนา เพิ่ม value
- Costume Designer (คอสตูม ดีไซเนอร์) สร้างชุด คิดลุคขึ้นมาใหม่ เริ่มจากรีเสิร์ช ว่าอาขีพนั้นมีลักษณะร่วมกันอย่างไร และคาแร็กเตอร์ที่เราทำในงานนั้นๆ แตกต่างอย่างไร
- มายน์ทำทั้งสไตลิสต์ และคอสตูมฯ ร่วมกัน  แต่คิดว่าคอสตูม ดีไซเนอร์ นั้นยากมาก
- แต่ละปีจะรับงานหนังแค่ปีละเรื่องสองเรื่อง เพราะเป็นคนที่ทำงานแล้วคิดตลอดเวลา อย่างหนังต้องลงรายละเอียดตัวละครทุกตัว ต้องดูช่วงเวลา พื้นเพครอบครัว เพื่อน ที่เรียน  ความสนใจ คิดว่าเขาจะใส่เสื้อผ้าแบบไหน เหมือนเราเข้าไปนั่งในตัวเขา  
- นอกจากหาเสื้อผ้าแล้ว บางครั้งต้องย้อมผ้าเองที่บ้านเลย
- รู้สึกประสบความสำเร็จที่คนไม่ทักเรื่องเสื้อผ้าจากหนังเรื่องนั้น เพราะทำให้รู้สึกว่านั่นเป็นเสื้อผ้าเขาจริงๆ
- ปัจจัยที่ทำให้เป็นสไตลิสต์/คอสตูม ดีไซเนอร์ที่ศิลปินไว้วางใจ
เพราะชินกันและไว้ใจ เพราะเราจะอธิบายว่าทำไมต้องใส่อันนี้ แบบนี้ เพราะอะไร อย่างบิวกิ้น (พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล) – พีพี (กฤษฏ์ อำนวยเดชกร) ทำงานด้วยกันมานาน ผ่านความยากลำบากกันมาก่อน แล้วน้องก็ใส่ให้ทุกอย่างเพราะรู้ว่าเราคิดมาแล้ว
- เป็นอีกหนึ่งคนที่มายน์ทำงานด้วยกันมานาน ถามปุ๊บ ตอบได้ปั๊บว่าพีพีกับบิวกิ้นเอวเท่าไหร่ ใส่รองเท้าไซส์ไหน
 
ความชอบแต่งตัวของมายน์:
- ตั้งใจเลือกของไม่เหมือนคนอื่นตั้งแต่แรก
- ชอบแต่งตัว  แต่ไม่ได้คิดจะเรียนแฟชั่น เพราะไม่ได้คิดจะออกแบบ
- เรียนคณะศิลปศาสตร์ ภาษารัสเซีย พอเรียนถึงปีสองก็รู้แล้วว่าเราอยู่กับมันตลอดไปไม่ได้เริ่มหาทางที่จะทำงานที่ตัวเองชอบ ก็เริ่มฝึกงานกับหนังสือแฟชั่น โฆษณา มาเรื่อยๆ เพราะนี่เป็นทางรอดของเรา ต้องพยายาม สมัยก่อนไม่มีโซเชียลมีเดีย
ต้องพิสูจน์ตัวเองจริงๆ ไม่ง่ายเลย  ต้องหาโอกาสเช้าไปทำและให้เขาเห็นเรา
- ชุดตัวเอง เราเลือกที่เราชอบ
- ชุดคนอื่น ต้องดูคอนเซปต์ ตัวเขา รวมถึง figure ที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน
- งานที่เราทำ สุดท้ายคืองานกลุ่ม เราเห็นว่าสวยคนเดียวไม่ได้
- กระบวนการในการทำงาน
1.คอนเซปต์ 
2. คิดจาก reference ,คุย เช่น การทำเสื้อผ้าให้หนังสักเรื่องก็ต้องคุยไปเรื่อยๆ คุยกับผู้กำกับเยอะมาก เพราะเราจะคิดอยู่ตลอดว่าแต่ละคนจะเป็นอย่างไร บางทีอาจจะเยอะไป ผู้กำกับต้องเป็นคนบอกเราว่า พอแล้ว หรือแบบไหนใช่ไม่ใช่ 
3. ทำเสื้อผ้าของต่างๆ  
4.Fitting
 - อุปสรรคในการทำงาน บางครั้งต้องทำงานแบบไม่ได้อยู่ด้วยกัน เช่น ครั้งที่พีพี บิวกิ้นไปรับรางวัลที่เกาหลี (Seoul International Drama Awards 2021 ) แล้วต้องใช้ชุดจากเมืองนอก กระบวนการในการรับส่งก็ยากแล้ว การที่ไม่ได้ไปอยู่กับน้องๆ ตรงนั้นก็ยากมาก แต่เราก็ใช้วิดีโอคอล คุยกันตลอดเท่าที่ทำได้ ผลออกมาก็นับว่ามหัศจรรรย์
- ความท้าทายในการทำงาน อยากทำชุดให้ศิลปินเกาหลี BTS เริ่มจากชอบแล้วดูว่าเขาคิดอะไรในการทำชุด อยากจะส่งพอร์ตไปให้เขาพิจารณางาน
- มายน์ ทำเสื้อผ้าให้ติ๋วเดย์สด้วย (วงที่ดีเจเปิ้ลหน่อยเป็นสมาชิก และเป็นเจ้าของเพลง ‘วันธรรมดา’ ) ตั้งแต่วินาทีแรกที่อัดคลิปทำวงและการไปเทศกาลดนตรีบิ๊กเมาน์เท่น
- Realsize Beauty ก็คือการมีความสุขไม่ว่าจะไซส์ไหน ซึ่งดี ส่วนการแต่งตัวก็เป็นเรื่องของกาลเทศะด้วย 
- สีมงคลประจำวันก็แม่นนะ 
 
* คำแนะนำในการแต่งตัวไปเทศกาลดนตรี อย่าง Cat Expo คือ เตรียมชุดระบายความร้อน รองเท้าสวมใส่สบาย กระเป๋าครอสบอดี้ใช้สะดวก อย่าลืมหมวก กระติกน้ำส่วนตัวลดขยะ
 
#แมวค้นมายน์   
#แมวค้นฅน   
#catradio

MUSIC SWEEP

02:00-09:00

Listen Live

Now Playing